มาดาม มารี คูรี่ : Madam Marie Curie



เกิด    :    วันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1867 ที่เมืองวอร์ซอร์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ (Poland)
เสียชีวิต : วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1934 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศษ (France)
ผลงาน   - ค้นพบธาตุเรเดียม
             - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ.1903 จากผลงานการพบธาตุเรเดียม
             - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์อีกครั้งหนึ่ง ในปี ค.ศ.1911 จากผลงานการค้นคว้าหาประโยชน์จากธาตุเรเดียม

           โรคมะเร็งเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคทั้งหมด ทั้งที่โรคมะเร็งไม่ใช่โรคติดต่อ หรือโรคระบาดร้ายแรงอะไรเลย แต่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ สาเหตุที่ทำให้คนต้องเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ก็เพราะว่า โรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ หากปล่อยให้ลุกลามไปถึงระยะสุดท้ายแล้ว แต่ถ้าเป็นระยะแรกก็อาจจะรักษาได้ด้วยการแายรังสีเรเดียม และนักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบธาตุชนิดนี้ก็คือ มารี คูรี่ ไม่เฉพาะโรคมะเร็งเท่านั้นที่เรเดียมรักษาได้ เรเดียมยังสามารถรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ และเนื้องอกได้อีกด้วย

อังตวน แวน เลเวนฮุค : Anton Van Leeuwenhook

อังตวน แวน เลเวนฮุค : Anton Van Leeuwenhook


เกิด        วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ที่เมืองเดลฟท์ (Delft() ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
เสียชีวิต วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1723 ที่เมืองเดลฟท์ (Delft() ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
ผลงาน   - ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์
             - ค้นพบจุลินทรีย์

        แม้ว่าชื่อของเลเวนฮุคจะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายนักในวงการวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าพูดถึงกล้องจุลทรรศน์แล้วไม่มีใครเลยที่จะไม่รู้จักและรู้ถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของกล้องจุลทรรศน์อันนี้ และผู้ที่ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์นั่นก็คือ อังตวน แวน เลเวนฮุคเขาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่เขาประดิษฐ์สังเกตดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเขาซึ่งยังไม่เคยมีใครสนใจหรือศึกษามาก่อน เพราะสัตว์บางประเภทที่เขาศึกษาไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อของ จุลินทรีย์ การค้นพบจุลินทรีย์ของเลเวนฮุค สร้างประโยชน์ในวงการแพทย์ และวงการวิทยาศาสตร์อย่างมากในเวลาต่อมา

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


เกิดเมื่อ: 18 ตุลาคม 2347, พระราชวังเดิม
เสียชีวิตเมื่อ: 15 ตุลาคม 2411, พระบรมมหาราชวัง, กรุงเทพมหานคร
ทายาท: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, เพิ่มเติม
คู่สมรส: พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (สมรส พ.ศ. 2404พ.ศ. 2411), เพิ่มเติม
พี่น้อง: พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
บิดา มารดา: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ผลงาน :
1. การวางพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
1.1 สถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย

2. ผลงานการวิจัย
2.1 การคำนวณหาตำแหน่งของดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์
2.2 การคำนวณว่าจะมีการเกิดอุปราคาได้หรือไม่
2.3 การคำนวณว่าการเกิดอุปราคาที่หว้ากอ จะเกิดสุริยุปราคาในลักษณะใด

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระศรี สุเรนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม ธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ขณะประสูติสมเด็จพระราชบิดาดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ เฉลิมพระบรมนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว จึงเสด็จเข้ามาประทับในพระบรมหาราชวัง

โจเซฟ พริสต์ลีย์ : Joseph Priestly

โจเซฟ พริสต์ลีย์ : Joseph Priestly


เกิด วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1738 เมืองลีดส์ (Leeds) รัฐยอร์คไชร์ (Yorkshire) ประเทศอังกฤษ (England)

เสียชีวิต วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1804 ที่มลรัฐเพนน์ซิลวาเนีย (Pennsylvania) ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)

ผลงาน
- ค้นพบก๊าซออกซิเจน (Oxygen)
- ค้นพบก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide)
- ค้นพบก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide)
- ค้นพบก๊าซไนตรัส (Nitrous air)
- ค้นพบก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride)
- ค้นพบก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia)
- ค้นพบก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
- ค้นพบก๊าซซิลิคอนไฮโดรฟลูออริก (Silicon hydrofluoric)
- ค้นพบก๊าซไนโตรเจน (Nitrogen air)
- ค้นพบก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)

อัลเฟรด โนเบล : Alfred Nobel

อัลเฟรด โนเบล : Alfred Nobel



เกิด :วันที่ 23 ตลาคม ค.ศ. 1833 ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน (Sweden)
เสียชีวิต: วันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 ที่เมืองซานโรโม (San Romo) ประเทศอิตาลี (ltaly)
พี่น้อง : โรเบิร์ต โนเบล

ผลงาน
- ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์ (Dynamite)
- ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล


     โนเบลผู้นี้เป็นผู้ที่ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในการที่เป็นมูลนิธิที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ อีกทั้งเขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งโนเบลเป็นผู้ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์ที่มีอานุภาพร้ายแรงนอกจากนี้เขายังประดิษฐ์วัตถุสังเคราะห์อีกหลายชนิด เช่น ไหมเทียม หนังเทียม และยางสังเคราะห์ เป็นต้น

วิลเฮล์ม คอนราด เรนต์เกน : Wilhelm Korad Roentgen

วิลเฮล์ม คอนราด เรนต์เกน : Wilhelm Korad Roentgen



เกิด วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1845 ที่เมืองเบนเนป (Lennep) ประเทศเยอรมนี (Germany)

เสียชีวิต วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 ที่เมืองนิวนิค (Munich) ประเทศเยอรมรี (Germany)

ผลงาน
- ค้นพบรังสีเอกซ์
- ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1901 จากการค้นพบรังสีเอกซ์ - ค้นพบวิธีหาความจุความร้อนจำเพราะของก๊าซ
- ประดิษฐ์หลอดเอกซเรย์


ถ้าจะกล่าวถึงประโยชน์ของรังสีเอกซ์คงต้องกล่าวกันนานทีเดียว เพราะประโยชน์ของรังสีชนิดนี้มีมากมาย ทั้งในด้านการแพทย์ซึ่งใช้ค้นหาความพบพร่องของกระดูก อวัยวะภายในร่างกายมนุษย์ หรือใช้รักษาโรคบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมวิศาวกรรมและการรักษาความปลอดภัย รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์ด้วย และผู้ค้นพบ รังสีชนิดนี้ก็คือเรินต์เกน นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และจากผลงานั้นนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1901

อาเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง : Alexander Flemming

อาเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง : Alexander Flemming



เกิด วันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1881 ที่เมืองล็อกฟิลด์ แอร์ (Logfield Air) ประเทศสก็อตแลนด์ (Scotland)

เสียชีวิต วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1955 ที่กรุงลอนดอน (London) ประเทศอังกฤษ (England)

ผลงาน
- ค้นพบเชื้อราชนิดหนึ่งชื่อว่าเพนนิซิเลียม (Penicilliam) ต่อมาได้นำมาสกัดเป็นยาชื่อว่า เพนนิซิลิน (Penicilin)
- ค.ศ.1946 ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์ ร่วมกับโฮวาร์ด วอลเทอร์ และเอิร์น โบร์ลเชน


เฟลมมิ่งเกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1881 ที่เมืองล็อกฟิลด์ แอร์ ประเทศสก็อตแลนด์ บิดาของเขาชื่อฮิวจ์ เฟลมมิ่ง (Hugh Flaming) เฟลมมิ่งเป็นเด็กที่มีความซุกซน ฉลาดหลักแหลม เมื่ออายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือ บิดาได้ส่งเฟลมมิ่งเข้าเรียนที่โรงเรียนคาร์เวล (Carwell School) หลังจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่คิลมาร์น็อก อะเคดามี (Kilemanox Academy) ต่อมาเขาได้เข้าเรียนต่อวิชาแบคทีเรียวิทยา ที่วิทยาลัยการแพทย์ แห่งโรงพยาบาลเซนต์แมรี่ และจบการศึกษาในปี ค.ศ.1908 โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 อีกด้วย หลังจากจบการศึกษาเฟลมมิ่งได้เข้าทำงานเป็นแพทย์ประจำแผนกภูมิคุ้มกันโรค และผู้ช่วยของเซอร์แอล์มโรท เอ็ดเวิร์ด ไรท์ (Sir Edward Writhe) หัวหน้าแผนกแบคทีเรียวิทยา ที่โรงพยาบาลเซนต์แมรี่

เลโอนาร์โด ดา วินซี : Leonardo da Vinci

เลโอนาร์โด ดา วินซี : Leonardo da Vinci


เกิด วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 ที่แคว้นทัสคานี (Tuscany) เมืองวินชี (Vinci) ประเทศอิตาลี (Italy)

เสียชีวิต วันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519 ที่เมืองอัมบัวส์ (Amboise) ประเทศฝรั่งเศส (France)

ผลงาน

- ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของมนุษย์
- สร้างประตูน้ำแบบบากมุม 45 องศา (Mitre Lock Gate)
- ออกแบบเครื่องมือหลายชนิด เช่น เฮลิคอปเตอร์ เรืองท้องแบน เรือดำน้ำ เครื่องแต่งกายมนุษย์กบและปืนกล เป็นต้น
- ประดิษฐ์เครื่องดนตรี 21 ชนิด ได้แก่ พิณ และ วิโอล่า
- ประดิษฐ์ไฮโกรมิเตอร์

นีลส์ บอร์ : Niels Bohr

นีลส์ บอร์ : Niels Bohr


เกิด   วันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ.1885 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
เสียชีวิต วันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.1962 ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) ประเทศเดนมาร์ก (Denmark)
ผลงาน   - ทฤษฎีธรรมชาติของอะตอม
                - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ จากผลงานทฤษฎีอะตอมแนวใหม่
                - ได้รับรางวัลปรมาณูเพื่อสันติภาพ
        "ไม่มีใครรู้ว่าถ้าไม่มีนีลส์ บอร์ แล้ว เราจะรู้เกี่ยวกับเรื่องของอะตอมได้อย่างไร" นี้คือคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลกที่กล่าวถึงนักฟิสิกส์ผู้นี้ นีลส์ บอร์เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดเผยความลับของอะตอมผู้ที่อยู่ในยุคเดียวกับอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ และมีความเป็นอัจฉริยะไม่แพ้กันเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งนีลส์ บอร์ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งที่ทำให้การสร้างระเบิดปรมาณูประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นการยืนยันได้ดีก็คือ รางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ที่เขาไดัรับการจากการค้นพบทฤษฎีอะตอม ในปี ค.ศ. 1922 นั่นเอง

อเลสซานโดร โวลตา : Alessandro Volta

อเลสซานโดร โวลตา : Alessandro Volta


อเลสซานโดร โวลตา : Alessandro Volta

เกิด        วันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1745 ที่เมืองโคโม (Como) ประเทศอิตาลี (ltaly)
เสียชีวิต วันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1827 ที่เมืองโคโม (Como) ประเทศอิตาลี (ltaly)
ผลงาน   - ประดิษฐ์เครื่องประจุไฟฟ้าสถิต (Electrophorus)
             - ประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor)
             - อุปกรณ์สำหรับตรวจวัดชนิดของประจุไฟฟ้า (Electroscope)
             - ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชื่อว่า โวลตาอิค ไพล์ (Voltaic Pile) หรือแบตเตอรี่ไฟฟ้า

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

ชาร์ล โรเบิร์ต ดาร์วิน : Charles Robert Darwin

ประวัติ

เกิดเป็นทายาทตระกูลผู้ดีมีการศึกษาและฐานะร่ำรวยในชนบทของอังกฤษ แต่ชีวิตของ "ชาร์ลส์ ดาร์วิน" ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งปู่และพ่อผู้เป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียง และหวังจะให้ "ดาร์วิน" เดินตามรอย ด้วยการส่งเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ ซึ่งที่นี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา และเปลี่ยนแนวคิดของคนทั่วโลก

อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier

อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier


อังตวน อลเรนต์ ลาวัวซิเยร์ : Anton Laurent Lavoisier

เกิด วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1743 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)

เสียชีวิต วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1794 ที่กรุงปารีส (Paris) ประเทศฝรั่งเศส (France)

ผลงาน - พบสมบัติของการสันดาป หรือการเผาไหม้

หลังจากยุคของโรเบิร์ต บอลย์ (Robert Boyle) ผ่านมา วิชาเคมีก็มีความเจริญก้าวหน้ามาตลอด จนกระทั่งถึงยุคของลาวัวซิเยร์วิชาเคมียิ่งมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก เนื่องจากผลงานการค้นพบทางเคมีของเขาหลายชิ้น