วิลเฮล์ม คอนราด เรนต์เกน :
Wilhelm Korad Roentgen
เกิด วันที่ 27 มีนาคม ค.ศ.
1845 ที่เมืองเบนเนป (Lennep) ประเทศเยอรมนี
(Germany)
เสียชีวิต วันที่ 10
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1923 ที่เมืองนิวนิค (Munich) ประเทศเยอรมรี (Germany)
ผลงาน
- ค้นพบรังสีเอกซ์
- ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1901 จากการค้นพบรังสีเอกซ์ -
ค้นพบวิธีหาความจุความร้อนจำเพราะของก๊าซ
- ประดิษฐ์หลอดเอกซเรย์
ถ้าจะกล่าวถึงประโยชน์ของรังสีเอกซ์คงต้องกล่าวกันนานทีเดียว
เพราะประโยชน์ของรังสีชนิดนี้มีมากมาย
ทั้งในด้านการแพทย์ซึ่งใช้ค้นหาความพบพร่องของกระดูก อวัยวะภายในร่างกายมนุษย์
หรือใช้รักษาโรคบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรมวิศาวกรรมและการรักษาความปลอดภัย
รวมถึงในวงการวิทยาศาสตร์ด้วย และผู้ค้นพบ รังสีชนิดนี้ก็คือเรินต์เกน
นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และจากผลงานั้นนี้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี
ค.ศ. 1901
เรนต์เกนเกิดเมื่อวันที่ 27
มีนาคม ค.ศ. 1845 ที่เมืองเบนเนป ประเทศเยอร์มนี บิดาของเป็นพ่อค้า
ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่เรินต์เกนอายุได้เพียง 3 ขวบ เท่านั้น
เมื่อบิดาของเรินต์เกนเสียชีวิต มารดาของเขา ชาร์ลอต คอนสแตนซ์ โฟลเวน
ได้พาเขาย้ายไปอยู่ที่เมืองอัมสเตอร์ดัม (Ansterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands) อันเป็นบ้านเกิดของเธอ
เรินต์เกนเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนนานาชาติ ชื่อว่า มาร์ตินุส เฮอร์มาฯ
แวน ครู
หลังจากจบการศึกษาเรินต์เกนได้เขาเรียนต่อที่โรงเรียนเทคนิคแห่งเมืองอัลเทซ
และเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอัลเทซในปี ค.ศ. 1865 ในวิชาฟิสิกส์
แต่เขาศึกษาอยู่ที่นี้ได้ไม่นานก็ลาออก เพราะสอบเข้าเรียนต่อที่โปลีเทคนิคซูริค
ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวิชาวิศวกรรมโรงงานได้
และเรินต์เกนได้เรียนอยู่ที่นี่จนจบปริญญาเอก สาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1869
หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาได้เข้าทำงานในตำแหน่งอาจารย์ผู้ช่วยสอนที่มหาวิทยาลัยวูซเบิร์ก
(Wurzburg University) ประเทศเยอรมนีเรินต์เกนได้ย้ายไปทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง
ได้แก่ ค.ศ. 1874 ที่มหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University),ค.ศ. 1879 รับตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยกิสเซน (Gneissen
University) และในปี ค.ศ. 1885
ได้ย้ายกลับไปสอนที่มหาวิทยาลัยวูซเบิร์กอีกครั้งหนึ่งในตำแหน่งศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์
ถึงแม้ว่าเขาจะย้ายสถานที่ทำงานอยู่เสมอแต่เรินต์เกนก็มีเวลามากพอสำหรับการทดลองค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และผลงานชิ้นแรกของเขาก็คือ
การหาความจุความร้อนจำเพาะของก๊าซ จากนั้นเรินต์เกนยังหาการนำความร้อนของผลึก
ในปี ค.ศ. 1895
มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเซอร์ วิลเลี่ยม ครุกส์ (Sir William Crooks) ได้พบรังสีคาโทด (Cathode Ray) หรือลำแสงอิเล็กตรอนนั่นเอง เมื่อเรินต์เกนทราบข่าว เขาจึงทดลองตามครุกส์
คือ การนำหลอดแก้วที่สามารถสูบอากาสออกได้ เรียกว่า "หลอดเบลนนาร์ด"
เมื่อสูบอากาศออกจากหลอดแก้วได้ส่วนหนึ่งจึงปล่อยกระแสได้ฟ้าเข้าไป
ในครั้งแรกปรากฏแสงสีชมพู เมื่อสูบอากาศออกอีกส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า
ปรากฏว่าเกิดแสงสีน้ำเงินอ่อนและเมื่อสูบ อากาศออกอีกส่วนหนึ่งปรากฏว่าเกิดแสงสีเขียวแกมแดง
ซึ่งผลเป็นเช่นเดียวกับที่ครุกส์พบ
แต่เรินต์เกนได้ทำการทดลองต่อไปเนื่องจากเขาต้องการรู้ว่ารังสีคาโทดสามารถผ่านหลอดแก้วสุญญากาศออกมาได้หรือไม่ผลปรากฏว่ารังสีคาโทดสามารถผ่านหลอดแก้วชนิดบางแต่ถ้าหากใช้หลอดแก้วชนิดหนารังสีคาโทดก็ไม่สามารถผ่านออกมาได้ต่อจากนั้นเรินต์เกนได้ทำการทดลองต่อ
โดยใช้กระดาษสีดำห่อหุ้มแท่งแก้วนี้อีกชั้นหนึ่งไม่ใช้แสงสว่างลอดเข้าออกได้แล้วใช้กระดาษที่ทำด้วยแบเรียมแพลติโนไซยาไนด์
(Platinocyanide Paper) ซึ่งเป็นสารประกอบระหว่างแบบเรียมและทองคำขาว
กั้นเป็นฉากไว้ด้านหลังหลอดอีกทีหนึ่ง
จากนั้นก็เริ่มทำการทดลองปล่อยแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดสุญญากาศ
ปรากฏว่าไม่มีแสงใดผ่านออกมาได้เลย จากนั้นเรินต์เกนก็ปิดไฟ
และประตูหน้าต่างจนภายในห้องมืดสนิท และเริ่มการทดลองอีกครั้งหนึ่ง
และพบว่ามีแสงเรืองเกิดขึ้นบนกระดาษฉาก
แต่เมื่อเปิดไปแสงนั้นก็หายไป เขาทำการทดลองซ้ำอีกหลายครั้งจนแน่ใจว่าแสงที่เกิดขึ้นไม่ใช้รังสีคาโทด
เรินต์เกนได้ทำการทดลองต่อไปโดยการปิดห้องจนมืดสนิท
แล้วใช้ฟิล์มถ่ายรูปมาวางแทนกระดาษฉาก ปรากฏว่าเมื่อนำฟิล์มไปล้าง
ฟิล์มมีลักษณะเหมือนถูกแสง เรินต์เกนได้ตั้งชื่อรังสีเขาพบว่า "รังสีเอกซ์ (X-ray) หรือ รังสีเรินต์เกน (Roentgen Ray)"
เรินต์เกนได้ทำการทดลองเกี่ยวกับรังสีเอกซ์อีกหลายครั้ง
เพื่อหาประโยชน์ของรังสีชนิดนี้เรินต์เกนได้ทำการทดลองเหมือนเดิม
แต่ใช้กุญแจวางไว้ระหว่างหลอดสุญญากาศ และฟิล์ม ซึ่งฟิล์ม
นี้ห่อด้วยกระดาษดำอีกครั้งหนึ่ง เมื่อนำฟิล์มไปล้างปรากฏว่ามีรอยขาวเป็นรูปกุญแจ
เขาทดลองเพื่อความมั่นใจอีกหลายครั้ง และใช้วัสดุชนิดอื่นมาใช้ในการทดลอง เช่น ปืน
เสื้อผ้า กระดาษแข็งหนา ไพ่ป็อกซ้อนกันหลาย ๆ ใบ หนังสือเล่มหนา
แม้แต่ตัวของเขาเองก็นำมาใช้ในการทดลอง
โดยเรินต์เกนได้ใช้มือของเขากั้นระหว่างรังสีเอกซ์ กับฉากกระดาษฉาบแบบเรียมปรากฏว่ามีเงากระดูกรูปนิ้วมือปรากฏลงบนฉาก
จากผลการทดลองเรินต์เกนสรุปว่ารังสีเอกซ์เป็นแสงชนิดหนึ่งที่แตกต่างจากแสงธรรมดาตรงที่สามารถแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าแสงสว่างธรรมดา
และเมื่อกระทบกับวัตถุ แสงจะสะท้อนกลับได้น้อยกว่า
หรือไม่หักเหเมื่อผ่านวัตถุแต่กลับลอดผ่านเข้าไปได้ แต่ไม่สามารถผ่านวัตถุที่มีความหนาทึบมากได้
ดังนั้นจึงเกิดเงาขึ้น การเกิดรังสีเอกซ์เนื่องจาก
เมื่ออิเล็กตรอนหรือประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่เร็วจัดกระโดดจากคาโทด (ขั้วลบ)
ที่มีลวดไฟฟ้าเล็ก ๆ ที่ได้กระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไปกระทบกับแอโนด (ขั่วบวก)
ซึ่งมีแผ่นวุลแฟรมติดอยู่ ในหลอดสุญญาณกาศ
เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งไปถึงปลายคาโทดทำให้ต้องหยุดกะทันหัน
ดังนั้นอิเล็กตรอนจึงกระโดดข้ามไปยังแอโนด
การที่อิเล็กตรอนกระทบสารที่ปลายแอโนดทำให้เกิดรังสีเอ็กซ์
ซึ่งมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 0.06 - 50 อังสตรอม
เมื่อการทดลองประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว
เรินต์เกนได้ออกแบบสร้างหลอดเอกซ์เรย์ขึ้น
โดยมีลักษณะเป็นหลอดแก้วสุญญาณขนาดเส้นผ่านสูนย์กลางประมาณ 6
นิ้วด้านล่างยื่นออกมาคล้ายด้ามจับ ส่วนด้านบนมีลักษณะคล้ายเขายื่นออกไป 2 อัน
ส่วนภายในประกอบไปด้วยแผ่นอะลูมิเนีย และเลนส์เว้า และส่วนประกอบอื่น ๆ
เพื่อให้กำเนิดรังสีเอกซ์ ดังที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น
จากผลงานการค้นคว้าทดลอง
และประดิษฐ์หลอดเอกซ์เรย์ขึ้น ในปี ค.ศ. 1895
เรินต์เกนได้ส่งผลการทดลองไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์การแพทย์แห่งเมืองวูซเบิร์ก
และในวันที่ 23 มกราคม ปีต่อมาผลงานของเขาได้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เวียนนา เพรสต์
ในชื่อเรื่องว่า รังสีชนิดใหม่ (New Ray) เมื่อผลงานของเรินต์เกนได้เผยแพร่ออกไปทำให้เขาได้รับการยกย่องจาก
สมาคมวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ได้แก่ ค.ศ. 1986 ได้รับเหรียญรัมฟอร์ดจากราชบัณฑิตยสภา
(Royal institution)ประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1892
เรินต์เกนได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยมิวนิค
ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการห้องทดลองฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัยในปี ค.ศ. 1893
เขาได้รับเหรียญเบอร์นาร์ดจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) และในปีเดียวกันเขาได้ตีพิมพ์ผลงานออกมา 2 เล่ม คือ Annalen der
Physik und Chemie และ Embodying the Result of Numerous
Experimental Labors และรางวัลที่ถือเป็นเกียรติแก่เขามากที่สุด คือ
ในปี ค.ศ. 1901 เรินต์เกนได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ซึ่งเรินต์เกนเป็นนักฟิสิกส์คนแรกที่ได้รับรางวัลนี้
แม้ว่าการค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์
และยอมรับกันมากในวงการวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากรังสีเอกซ์เป็นสิ่งใหม่
จึงทำให้คนทั่วไปรู้สึกหวาดกลัว เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจอยู่มาก
และที่รัฐนิวเจอร์ซี
ผุ้ว่าการรัฐได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้มีการใช้รังสีชนิดนี้ในโรงภาพยนตร์ โรงละคร
และสถานที่สาธารณะทุกแห่ง อีกทั้งผุ้คนยังเข้าใจว่ารังสีเอกซ์สามารถทำให้มองทะลุผ่านเสื้อผ้าเข้าไปได้
ผู้คนจึงหวาดกลัวมาก
แต่สำหรับวงการแพทย์
หลังจากการค้นพบรังสีเอกซ์เพียงไม่กี่เดือน ก็ได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย
เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา แพทย์ได้นำรังสีเอกซ์ไปตรวจสอบหาลูกกระสุนที่ฝังอยู่ในขาของผู้ป่วยรายหนึ่ง
ในฝรั่งเศส แพทย์ได้นำไปฉายเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคกระดูก
ส่วนในประเทศเยอรมนีทางกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้แพทย์ในกองทัพศึกษาเกี่ยวกับรังสี
ชนิดนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้รักษาทหารที่บาดเจ็บในสงคราม
นอกจากประโยชน์ในทางการแพทย์ รังสีเอกซ์ยังมีประโยชน์อย่างมากต่อวงการอุตสาหกรรม
วิศวกรรมหรือแม้แต่การรักษาความปลอดภัย
การค้นพบรังสีเอกซ์ของเรินต์เกน
ถือเป็นการสร้างคุณประโยชน์อย่างมากให้กับสาธารณชน
โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการนำรังสีเอกซ์มารใช้ในงานด้านต่าง ๆ มากขึ้น
และที่เป็นประโยชน์มากที่สุด คือ งานด้านการแพทย์
เนื่องจากในปัจจุบันการผ่าตัดผู้ป่วยหรือรักษาผู้ป่วยที่บาดเจ็บ กระดูกหัก
ต้องอาศัยรังสีเอกซ์ในการวินิจฉัย เพื่อการรักษาในลำดับต่อไป แม้แต่การรักษาฟัน
ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยรังสีเอกซ์ในการวินิจฉัยโรค
และสามารถใช้รักษาโรคมะเร็งบางชนิดได้ เรินต์เกนยังคงทำการทดลองค้นคว้า
และทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยมิวนิคจนกระทั่งเสียชีวิตในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ.
1923 ด้วยโรคมะเร็ง
ในปัจจุบันรังสีเอกซ์ได้มีการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งมีการตรวจพบว่า
รังสีเอกซ์มีผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับรังสีชนิดนี้
รังสีเอกซ์สามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกาย
และถ้าได้รับจำนวนมากอาจทำลายเซลล์ให้ตายได้ หรืออาจมีผลกระทบต่อโครโมโซม
แต่ก็ได้มีการปรับปรุงเครื่องมือเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้น้อยที่สุด
เพราะการใช้รังสีเอกซ์ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังจำเป็นอยู่มากในปัจจุบัน
ที่มา http://siweb.dss.go.th
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น