อัลเฟรด โนเบล : Alfred Nobel
เกิด :วันที่ 23 ตลาคม ค.ศ.
1833 ที่กรุงสตอกโฮล์ม (Stockholm) ประเทศสวีเดน
(Sweden)
เสียชีวิต: วันที่ 10
ธันวาคม ค.ศ. 1896 ที่เมืองซานโรโม (San Romo) ประเทศอิตาลี (ltaly)
พี่น้อง : โรเบิร์ต โนเบล
ผลงาน
- ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์ (Dynamite)
- ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
โนเบลผู้นี้เป็นผู้ที่ก่อตั้งมูลนิธิโนเบล
ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในการที่เป็นมูลนิธิที่สนับสนุนและมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาต่างๆ
อีกทั้งเขายังเป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งโนเบลเป็นผู้ประดิษฐ์ระเบิดไดนาไมต์ที่มีอานุภาพร้ายแรงนอกจากนี้เขายังประดิษฐ์วัตถุสังเคราะห์อีกหลายชนิด
เช่น ไหมเทียม หนังเทียม และยางสังเคราะห์ เป็นต้น
โนเบลเกิดเมื่อวันที่ 23
ตุลาคม ค.ศ. 1833 ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ในครอบครัวที่ร่ำรวย
บิดาของเขาเป็นเจ้าของโรงงานผลิตวัตถุระเบิด
และอาวุธ ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St.Petersburg) ประเทศรัสเซีย (Russia) ซึ่งเป็นธุรกิจที่สร้างความร่ำรวยให้กับครอบครัวเขาอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดสงครามไครเมีย
รัสเซียได้สั่งอาวุธสงครามจากโรงเรียนนี้เป็นจำนวนมาก
และอาวุธที่ถูกสั่งจำนวนมากที่สุดก็คือระเบิด
ระเบิดชนิดนี้บิดาของเขาได้สร้างขึ้นจากไนโตรกลีเซอรีนซึ่งระเบิดได้ง่ายมากและก็มีเพียงโรงงานของครอบครัวโนเบลเท่านั้นที่ผลิตระเบิดชนิดนี้
แต่เมื่อเกิดระเบิดขึ้นครั้งใด
ไม่ว่าจะในสงครามหรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ
เช่นเรือสินค้าที่บรรทุกไนโตรกลีเซอรีนระเบิด โรงงานไนโตรกลีเซอรีน
ในกรุงสตอกโฮล์ม ซิดนีย์ ซานฟรานซิสโก และอีกหลายแห่งระเบิด
ผู้คนก็มักจะกล่าวว่าโรงงานของโนเบลเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดระเบิดเสมอ
เพราะโรงงานของเขาเป็นโรงงานที่ใหญ่ และมีความสำคัญมากที่สุด
หลังจากจบการศึกษาแล้วโนเบลได้ศึกษาในวิชาวิศวกรรมเครื่องกลที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อจบการศึกษาแล้วโนเบลได้เข้ามาทำงานในโรงงานผลิตอาวุธของบิดาของเขานั่นเอง
จากความสำเร็จอย่างมากในการสร้างโรงงานที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กบิดาเขาจึงเกิดความคิดที่จะสร้างโรงงานขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่
กรุงสตอกโฮล์ม
และเมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตโนเบลก็เป็นผู้ที่ได้รับมรดกทั้งหมดของครอบครัว
เขาได้บริหารงานโรงงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ
พร้อมกันนี้เขาได้พยายามหาวิธีทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้นโนเบลใช้เวลาในการทดลองค้นคว้าหาวิธีนานหลายปีจนเกิดความท้อแท้เบื่อหน่าย
จนกระทั่งวันหนึ่งในปี ค.ศ.
1886 โนเบลได้ทำไนโตรกลีเซอรีนหยดลงพื้น
เมื่อเป็นเช่นนั้นโนเบลจึงนำดินบริเวณที่ไนโตรกลีเซอรีนหกขึ้นมาแยกธาตุดู
ซึ่งนับว่าเป็นผลดีอย่างมากให้กับโนเบล เพราะทำให้โนเบลหาวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น
โดยการนำไนโตรกลีเซอรีนมาผสมกับดินทราย แม้ว่าไนโตรกลีเซอรีนจะระเบิดได้ยากขึ้น
แต่กลับส่งผลให้ระเบิดชนิดนี้มีอานุภาพรุนแรงมากขึ้น
โนเบลตั้งชื่อระเบิดชนิดนี้ว่า ไดนาไมต์ ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพรุนแรง
และใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้
แม้ว่าโนเบลจะพบวิธีที่ทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น
แต่เขากลับได้รับความเกลียดชังจากผู้คนรอบข้างเช่นเดิมเพราะไม่มีผู้ใดที่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้เลย
ในประเทศอังกฤษสินค้าของโนเบลถูกสั่งห้ามไม่ให้นำเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด
แม้แต่เจ้าของโรงแรมก็ยังไม่ยอมให้เขาเข้าพัก
เนื่องจากเกรงว่าโนเบลจะนำไนโตรกลีเซอรีนติดตัวไปด้วย แต่โนเบลก็ไม่ละความพยายาม
เขาได้อธิบายให้รัฐบาลและคนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่เขาทำให้ไนโตรกลีเซอรีนระเบิดได้ยากขึ้น
และในที่สุดความพยายามของเขาก็เป็นผลสำเร็จ คือ รัฐบาลได้อนุญาตให้เข้าสร้างโรงงานในประเทศต่าง
ๆ กว่า 10 ประเทศ ได้แก่ โปรตุเกส สเปน ฟินแลนด์ อิตาลี เยอรมนี ออสเตรีย
และฝรั่งเศส เขาได้รับเงินทุนสนับสนุนจากทางพระเจ้านโปเลียนที่ 3
จากประเทศฝรั่งเศสให้ก่อสร้างโรงงานด้วย ต่อมาโนเบลได้สร้างโรงงานในประเทศอังกฤษ
ซึ่งในครั้งแรกทางรัฐบาลได้ห้ามอย่างเด็ดขาด
แต่ในที่สุดเขาก็สามารถอธิบายให้รัฐบาลอังกฤษเข้าใจได้โนเบลสร้างโรงงานขึ้นอีกหลายแห่งทั่วโลก
ได้แก่ แคนาดา บราซิล และญี่ปุ่น
ระเบิดไดนาไมต์เป็นผลงานชิ้นเดียวที่โนเบลสร้างขึ้นมา
ซึ่งเป็นระเบิดที่มีอานุภาพแรงอย่างมาก แต่ระเบิดไดนาไมต์ไม่ได้ทำลายล้างได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ประมาณปี ค.ศ. 1900
มีการขุดคลองปานามาขึ้นมาเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรแอนแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิก
ระเบิดไดนาไมต์ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการนี้ด้วย ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี
หากจะกล่าวถึงโนเบลแล้ว
เรื่องที่ควรจะกล่าวถึงมากที่สุด คือ
มูลนิธิที่เขาเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นและสาเหตุที่เขาก่อตั้งมูลนิธิขึ้น
เนื่องจากคำขอร้องจากเพื่อนของเขาคนหนึ่ง
ที่เขาได้รู้จักในระหว่างที่โนเบลได้สร้างโรงงานผลิตอาวุธขึ้นในกรุงปารีส
เขาได้ประกาศรับสมัครเลขานุการขึ้นและเบอร์ธา กินสกีหญิงสาวชาวออสเตรียนได้ส่งจดหมายมาสมัครและได้งานนี้ได้
ซึ่งเธอผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดมูลนิธิโนเบลขึ้น
กินสกีเป็นผู้หญิงที่ทำงานและมีอัธยาศัยดี ทำให้เข้ากับโนเบลได้เป็นอย่างดี
แม้ว่าในขณะนั้นโนเบลมีอายุมากถึง 43 ปี แล้วก็ตาม ทั้งสองมีความสัมพันธ์กันดีทั้งในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง
และในฐานะเพื่อน
ต่อมากินสกีได้แต่งงานไปกับท่านเคานท์สุตเนอร์
และลาออกจากงาน แต่ทั้งสองก็ยังคบหากันในฐานะเพื่อนและติดต่อกันอยู่ตลอด
กินสกีมักจะขอร้องให้โนเบลสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติบ้าง
แทนที่จะสร้างอาวุธเพื่อการทำล้างลายแต่เพียงอย่างเดียวกินสกีได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเกี่ยวกับพิษภัยของสงครามและอันตรายจากการสะสมอาวุธสงคราม
หนังสือเล่มนี้ของกินสกีมีเพียงโนเบลเท่านั้นที่ได้อ่านและจากการอ้อนวอนของร้องจากเพื่อนที่รักที่สุดของโนเบล
เมื่อโนเบลเสียชีวิตในวันที่
10 ธันวาคม ค.ศ. 1896 เขาได้ทำพินัยกรรมมอบเงินจำนวน 31 ล้านโครน
ตั้งเป็นมูลนิธิโนเบล โดยมูลนิธินี้จะสนับสนุน
และมอบรางวัลให้กับนักวิทยาศาสตร์และบุคคลที่มีผลงานดีเด่นในสาขาต่าง ๆ 5 สาขา
ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ วรรณกรรม และสาขาสันติภาพ ซึ่ง 3
รางวัลเขามอบให้กับนักวิทยาศาสตร์ผู้มีผลงานดีเด่น
สาขาวรรณกรรมนั้นเกิดขึ้นจากนิสัยส่วนตัวของโนเบล ที่เป็นคนรักการอ่านและเขียน
โดยเฉพาะในช่วงที่เขาถูกเกลียดชังอย่างมาก
เขาได้เขียนพรรณนาความลำบากในชีวิตของเขาลงในหนังสือ ส่วนรางวัลสันติภาพเขาได้ทำตามคำร้องขอของกินสกีเพื่อรักของเขา
รางวัลโนเบลถือว่าเป็นรางวัลที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดรางวัลหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น