โทมัส อัลวา เอดิสัน : Thomas Alva Edison
เกิด วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847
เมืองมิลาน (Milan) มลรัฐโอไฮโอ (Ohio)
ประเทศสหรัฐอเมริกา (United State of America)
ผลงาน
- ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
- เครื่องเล่นจานเสียง
- กล้องถ่ายภาพยนตร์
- เครื่องขยายเสียง
- หีบเสียง
- เครื่องบันทึกเสียง
ถ้าจะพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่แล้ว
คงจะไม่มีใครเหนือกว่า เอดิสัน เอดิสันประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากกว่า 1,000 ชิ้น
นอกจากนี้เขายังปรับปรุงเครื่องใช้ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
โทรศัพท์ เครื่องส่งโทรเลข เป็นต้น ผลงานการประดิษฐ์ของเขาเป็นสิ่งที่สร้างความสะดวกสบาย
และเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับสาธารณชน
เอดิสัน เกิดเมื่อวันที่ 11
กุมภาพันธ์ ค.ศ.1847 ที่เมืองมิลาน มลรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา
บิดาของเขาชื่อว่า แซมมวล เอดิสัน (Samuel Edison) ประกอบธุรกิจในประเทศแคนาดา และได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้างรัฐบาล
เมื่อฝ่ายต่อต้านพ่ายแพ้ เขาจึงต้องลี้ภัยการเมืองมาอยู่ที่ประเทศสหรัฐฯ
และทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้แปรรูปทุกชนิด เมื่อเอดิสันอายุได้ 7 ขวบ
ครอบครัวเขาได้อพยพไปอยู่ที่เมืองพอร์ตฮิวรอน (Port Huron) รัฐมิชิแกน
(Michigan) เนื่องจากกิจการของครอบครัวประสบปัญหา
และเขาได้รับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนในเมืองพอร์ตฮิวรอนนั่นเอง
แต่เขาไปโรงเรียนได้เพียง 3 เดือน เท่านั้นก็ไม่ยอมไปอีก
ด้วยความที่เขาเป็นเด็กซุกซนอยากรู้อยากเห็นตลอดเวลา ทำให้ถูกครูตำหนิและลงโทษ
เมื่อเขาออกจากโรงเรียนมารดาจึงรับหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือให้เขา
เขาเรียนหนังสือยู่เพียง 2 ปี เท่านั้น ก็สามารถอ่านเขียนได้อย่างคล่องแคล่ว
สิ่งที่เอดิสันให้ความสนใจมากที่สุดก็คือ
วิทยาศาสตร์ การทดลอง และการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ
ดังนั้นเขาจึงเริ่มหางานทำตั้งแต่อายุได้ 12 ปี เพื่อหาเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการสร้างห้องทดลองวิทยาศาสตร์
อีกทั้งเขาไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือในโรงเรียน
เอดิสันได้งานทำในบริษัทรถไฟแกรนทรังค์ (Grand Trank
Train Company) ในหน้าที่เด็กขายหนังสือพิมพ์ บนรถไฟสายพอร์ตฮิวรอน
- ดีทรอยต์ (Port Huron - Detroit) เอดิสันได้ใช้ตู้รถไฟตู้หนึ่งเป็นที่พัก
เก็บสารเคมี และหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
ซึ่งเขามักใช้เวลาว่างส่วนใหญ่อยู่ในห้องพักเพื่ออ่านหนังสือ
และทำการทดลองวิทยาศาสตร์
เอดิสันได้ทำงานอยู่ระยะหนึ่งเขาก็สามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง
เขานำเงินไปซื้อแท่นพิมพ์เล็ก ๆ เครื่องหนึ่ง เพื่อมาพิมพ์หนังสือพิมพ์ของเขาเอง
ซึ่งเขาเป็นเจ้าของบรรณาธิการ นักเขียน และพนักงานขายหนังสือพิมพ์ด้วย
หนังสือพิมพ์ของเอดิสันมีชื่อว่า Grand Trank
Herald ซึ่งขายดีมาก
เอดิสันได้นำเงินกำไรส่วนหนึ่งซื้ออุปกรณ์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ สารเคมี แร่
และหนังสือวิทยาศาสตร์ แต่วันหนึ่งเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น
เมื่อรถไฟเกิดกระชากอย่างแรงทำให้แท่งฟอสฟอรัสตกกระแทกพื้น แล้วเกิดระเบิดอย่างแรง
ทำให้ไฟไหม้ตู้รถไฟของเขา แต่โชคดีที่ดับไฟทันไม่ได้ลุกลามไปตู้อื่น
แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ถูกไล่ออกจากงาน และทำให้หูของเขาต้องพิการ
วันหนึ่งเขาได้ช่วยชีวิตลูกชายของนายสถานีที่กำลังวิ่งเล่นอยู่บนรางรถไฟ
ในขณะที่รถไฟกำลังจะเข้าสถานี
เอดิสันกระโดดลงไปอุ้มเด็กน้อยคนนั้นขึ้นมาได้ทันเวลาก่อนที่รถไฟจะทับเด็ก
นายสถานีจึงสอนการส่งโทรเลขให้กับเอดิสันเป็นการตอบแทน เมื่อเอดิสันมีความชำนาญในการส่งโทรเลขมากขึ้น
ในปี ค.ศ.1862
เขาจึงเช่าที่ว่างในร้านขายยาบริเวณใกล้กับสถานีรถไฟเปิดร้านรับจ้างส่งโทรเลขแต่กิจการไม่ค่อยดีนัก
เพราะมีร้านรับจ้างส่งโทรเลขหลายร้าน ส่วนร้านของเขาเป็นร้านเล็ก ๆ
ที่พึ่งเปิดกิจการ จากนั้นเอดิสันจึงหันมาทำกิจการขายเครื่องจักร
โดยเช่าส่วนหนึ่งของร้านขายของเปิดแผนกจำหน่ายเครื่องจักรขึ้น
ในระหว่างที่เอดิสันทำกิจการจำหน่ายเครื่องจักร
เขาได้ใช้เวลาว่างประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นหลายชิ้น เช่น
เครื่องบันทึกคะแนนเสียงในรัฐสภา
แต่เมื่อผลิตออกจำหน่ายกลับไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก เครื่องพิมพ์ราคาตลาดหุ้น
และเครื่องโทรเลข 2 ทาง ซึ่งประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเป็นอย่างดี
เอดิสันได้นำผลงานชิ้นนี้ไปเสนอต่อบริษัทเวสเทิร์ส ยูเนียนเทเลกราฟ (Western Union Telegraph Company) แต่ได้รับการปฏิเสธ
ดังนั้นเอดิสันจึงนำผลงานไปเสนอต่อบริษัทโทรเลขแอตแลนติก และแปซิฟิก (Atlantic
and Pacific Telegraph Company) ทางบริษัทยอมรับผลงานของเขาแต่เอดิสันโชคร้ายเมื่อเขาทำการทดลองส่งสัญญาณจากนิวยอร์คถึงโรเชสเตอร์
ปรากฏว่าเกิดขัดข้องไม่สามารถส่งสัญญาณได้
ทำให้เมื่อเขากลับมาที่เมืองบอสตันก็ต้องได้รับความลำบากเพราะไม่มีทั้งเงิน
และงานก็ไม่มีทำ แต่เอดิสันก็ยังโชคดีอยู่บ้างเมื่อเขาพบกับวิศวกรไฟฟ้าผู้หนึ่ง
ชื่อ แฟรงคลิน โปป (Franklin Pope) ได้ให้พักอาศัยอยู่ด้วย
และฝากงานให้ทำในบริษัทแจ้งราคาทอง ลอว์โกลด์ อินดิเคเตอร์ (Lawglod
Indicator) ซึ่งโปปทำงานอยู่
เอดิสันได้เข้าทำงานในตำแหน่งช่างโทรเลขประจำบริษัท
ด้วยความสามารถของเอดิสันเขาสามารถซ่อมเครื่องส่งโทรเลขได้เป็นอย่างดี
และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยของโปป และเมื่อโปปลาออก เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งแทนโปป
ต่อมาบริษัทได้รวมกิจการเข้ากับบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลหราฟเอดิสันจึงลาออก
หลังจากนั้นเขาได้เปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับโปป และหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งชื่อว่า
เจ.เอช.แอชลีย์
เอดิสันต้องทำงานหนักอยู่เพียงลำพังต่างกับหุ้นส่วนที่คอยรับผลประโยชน์
แต่เมื่อผลกำไรออกมาทุกคนต่างก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
ทำให้เอดิสันรู้สึกไม่พอใจที่ถูกเอาเปรียบเช่นนี้
ดังนั้นในปี ค.ศ.1871
เอดิสันจึงถอนหุ้นออกจากโรงงาน และเดินทางไปยังเมืองนิววาร์ด รัฐนิวเจอร์ซี (New Jersey) เพื่อเปิดบริษัทผลิตเครื่องใช้ต่าง ๆ
บริษัทของเอดิสันประสบความสำเร็จอย่างมาก
จากการจำหน่ายเครื่องป้องกันความผิดพลาดของใบแจ้งราคาหุ้น ต่อมาในปี ค.ศ.1876
เอดิสันได้ย้ายโรงงานไปที่เมืองเมนโล ปาร์ค (Menlo Park) รัฐนิวยอร์ค
(New York) และในปีเดียวกันนี้อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander
Graham Bell) สามารถประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ
ส่งผลให้บริษัทโทรเลขประสบปัญหาขาดทุนอย่างรุนแรงดังนั้นบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน
เทเลกราฟ จึงได้ว่าจ้างเอดิสันปรับปรุงโทรศัพท์ของเบลล์ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
เอดิสันได้พยายามหาวัสดุชนิดอื่น เพื่อใช้แทนแผ่นเหล็กที่เบลล์ใช้ในโทรศัพท์
จนกระทั่งเอดิสันทดลองนำคาร์บอนมาทาบริเวณแผ่นเหล็ก ปรากฏว่าได้ยินเสียชัดเจนขึ้น
ซึ่งทำให้เป็นที่นิยมในเวลาไม่นานนัก
ถึงแม้ว่าโทรศัพท์จะจำหน่ายได้ดีเพียงใด
เอดิสันก็ได้รับค่าตอบแทนเพียง 100,000 ดอลลาร์เท่านั้น
แต่ประโยชน์ที่เอดิสันได้รับนอกจากเงินก็คือ
ระหว่างที่เขาปรับปรุงโทรศัพท์อยู่นั้น เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องหลายอย่าง
และจากการปรับปรุงโทรศัพท์ครั้งนี้ทำให้เขาได้พบวิธีประดิษฐ์หีบเสียง ในปี
ค.ศ.1877 ซึ่งใช้หลักการเดียวกับโทรศัพท์ คือ
เมื่อมีเสียงส่งผ่านเข้าไปจะทำให้โลหะที่อยู่ภายในสั่น
ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อผลงานชิ้นนี้ของเขาได้เผยแพร่ออกไป
ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เอดิสันได้ปรับปรุงหีบเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย
ๆ สิ่งประดิษฐ์ของเขาอีกชิ้นหนึ่ง ก็คือ เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องบันทึกเสียงของเขาประกอบไปด้วยกระบอกสูบเป็นร่องที่เป็นลานเกลียวยาวอันหนึ่ง
ซึ่งหมุนไปด้วยข้อเหวี่ยงทั้งสองด้านของกระบอกสูบนี้เป็นท่อเล็ก ๆ
พร้อมกับมีแผ่นกะบัง และเข็มเขาได้ส่งแบบเครื่องบันทึกเสียงพร้อมกับคำแนะนำให้กับ
จอห์น ครุยส์ (John Kruesi) หัวหน้าผู้ช่วยของโรงงาน
เมื่อครุยส์นำเครื่องกลที่สร้างเสร็จแล้วมาให้เอดิสัน
แต่ครุยส์ก็ยังไม่เข้าใจว่าเครื่องกลนี้มีประโยชน์อย่างไร
จนกระทั่งเอดิสันพูดใส่ลงไปในกระบอกสูบว่า"Mary have a small sheep"
และหมุนเครื่องอีกครั้ง ก็มีเสียงดังออกมาว่า "Mary
have a small sheep" สร้างความประหลาดใจให้กับคนงานในโรงงานเป็นอย่างมาก
เครื่องบันทึกเสียงถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นที่เขาชื่นชอบมากที่สุด
ต่อมาเขาได้ปรับปรุงเครื่องบันทึกเสียงมาเป็นเครื่อง บันทึกโทรเลข (Automatic Telegraph Repeater)
เอดิสันได้นำผลงานทั้งสองชิ้นไปแสดงให้อัลเฟรด
อีลีบัช (Alfred Dlybeah) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอนติฟิคอเมริกัน
(Scientific American Newspaper) เมื่ออีลีบัชได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ของเอดิสัน
เขารู้สึกตื่นเต้นมาก และได้นำผลงานทั้ง 2 ชิ้น ของเอดิสันลงในหนังสือพิมพ์
เมื่อข่าวนี้เผยแพร่ออกไปทำให้เอดิสันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
และได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก เอดิสันได้รับเชิญจากบุคคลสำคัญหลายท่าน
ให้นำผลงานของเขาไปแสดงให้ดู เช่น ลูเธอร์ฟอร์ด บีชาร์ด เฮส์ (Rutherford
Birchard Hayes)ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา
พระราชินีแห่งอังกฤษกษัตริย์แห่งรัสเซีย รวมถึงประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีด้วย
เอดิสันยังคงค้นคว้าและประดิษฐ์สิ่งต่าง
ๆ ต่อไป ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดก็คือ หลอดไฟฟ้า
ก่อนหน้านั้นเซอร์ฮัมฟรี เดวี่ (Sir Humphry
Davy) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าโดยการนำลวดมาต่อเข้ากับขั้วบวกและลบ
ของแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ เมื่อเอาปลายของลวดทั้งสองเข้ามาใกล้ ๆ กัน
ปรากฏว่าเกิดประกายไฟกระโดดข้ามไปมา โดยประกายไฟกระโดด
มีลักษณะโค้งเล็กน้อยอีกทั้งมีแสงสว่างออกมาด้วย
ต่อมาเขาได้ทำการทดลองเช่นนี้ในสูญญากาศและผลจากการทดลองครั้งนี้เดวี่ได้นำไปประดิษฐ์หลอดไฟ
โดยตั้งชื่อหลอดไฟฟ้าชนิดนี้ว่า Arc Light แต่เส้นลวดไม่สามารถทนความร้อนได้สูง
ทำให้การใช้งานของหลอดชนิดนี้มีอายุสั้น จากการทดลองของเดวี่
เอดิสันจึงได้พยายามค้นหาตัวนำที่สามารถทนความร้อนได้สูง เอดิสันทดลองใช้วัสดุมากกว่า
10,000 ชนิด มาทำการทดลองใช้เป็นไส้ของหลอดไฟ และในปี ค.ศ.1879 เอดิสันก็พบว่า
เมื่อนำเส้นใยที่ทำด้วยฝ้ายมาทำด้าย
จากนั้นนำมาเผาไฟจะได้ถ่านคาร์บอนที่ทนความร้อนได้สูง
จากนั้นจึงนำมาบรรจุไว้ในหลอดสูญญากาศ หลอดไฟของเอดิสันสามารถจุดให้แสงสว่างได้นานถึง
45 ชั่วโมง หลอดไฟฟ้าชนิดนี้มีชื่อว่า Incandesent Electric Lamp แต่ถึงอย่างนั้นเอดิสันก็ยังต้องการหาวัสดุที่ดีกว่า
เขาได้ส่งคนงานจำนวนหนึ่งออกไปเสาะหาวัสดุที่ดีกว่าฝ้ายและในที่สุดเขาก็พบว่าเส้นใยของไม้ไผ่ในประเทศญี่ปุ่นมีคุณภาพดีกว่า
แต่ถึงกระนั้นหลอดไฟฟ้าของเอดิสันก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไรนัก
เพราะราคาค่าไฟฟ้าในขณะนั้นแพงมาก
เอดิสันจึงเดินทางกลับมานิวยอร์คอีกครั้งหนึ่ง
และก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Edison Electric Limit Company เพื่อสร้างเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า โดยการนำไดนาโมของไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael
Faradayป
มาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเขาได้ตั้งชื่อเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าเครื่องนี้ว่า
"Beauty Mary Ann" ตามชื่อของภรรยาของเขา
จากนั้นเอดิสันได้วางสายไฟฟ้าไปทั่วเมืองนิวยอร์ค
ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้ากันอย่างทั่วถึง
นับว่าเอดิสันเป็นผู้ที่บุกเบิกกิจการไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้เขายังสร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า
และสายดินเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าอีกด้วย
กิจการของเอดิสันดำเนินไปได้ด้วยดีทั้งการจำหน่ายหลอดไฟฟ้า และจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
ต่อมาในปี ค.ศ.1889
เขาได้ประดิษฐ์เครื่องมือเกี่ยวกับการถ่ายภาพขึ้น
โดยใช้หลักการเดียวกับเครื่องบันทึกเสียง
ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการถ่ายภาพเคลื่อนไหว หรือกล้องถ่ายภาพยนตร์
แต่ในขั้นแรกภาพที่ถ่ายยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ต่อมาในปี ค.ศ.1912
เขาได้ปรับปรุงและทำให้ภาพเคลื่อนไหวได้ นอกจากกล้องถ่ายภาพยนตร์แล้วเขายังสร้างเครื่องฉายภาพยนตร์
ขึ้นด้วย ต่อจากนั้นเอดิสันได้สร้างภาพยนตร์ที่พูดได้ครั้งแรกของโลกขึ้น
โดยใช้เครื่องบันทึกเสียงเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการฉายภาพยนตร์
เขาได้ว่าจ้างนักแสดงจากบรอดเวย์ (Broadway) มาแสดงในภาพยนตร์ของเขา ภาพยนตร์เครื่องแรกของเอดิสันชื่อว่า Synchronized
Movie
ผลงานของเอดิสันยังมีอีกหลายชิ้น ได้แก่ เครื่องเล่นจานเสียง
เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เครื่องอัดสำเนา
(Duplicating Machine) และแบตเตอรี่ที่ทำจากนิกเกิลและเหล็ก เป็นต้น
เอดิสันได้ทุ่มเทเวลา
ส่วนใหญ่ให้กับการประดิษฐ์คิดค้น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ อยู่เสมอ
การที่เขาทำงานอย่างหนักและพักผ่อนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมง เท่านั้น
ทำให้เอดิสันได้ล้มป่วยลงด้วยโรคกระเพาะ เบาหวาน
และปัสสาวะเป็นพิษแต่เมื่ออาการทุเลาลง แทนที่เขาจะหยุดพักผ่อนกลับไปทำงานอย่างหนักอีก
ทำให้อาการป่วยกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง และเป็นสาเหตุทำให้เขาเสียชีวิตในวันที่ 18
ตุลาคม ค.ศ.1931 จากนั้นรัฐบาลได้สร้างหลอดไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไว้บนยอดเสาสูง
13 ฟุต 8 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 ฟุต 2 นิ้ว หนัก 3 ตัน
มีหลอดไฟบรรจุอยู่ภายในถึง 12 ดวง ซึ่งมีกำลังไฟฟ้ารวมกันถึง 5,200 วัตต์ หลอดไฟฟ้าอันนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1934
เพื่อระลึกถึงคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างเอาไว้
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น